วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการถ่าย พระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า และ พระอาทิตย์ตกยามเย็น เทคนิคการถ่าย พระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า และ พระอาทิตย์ตกยามเย็น

     ช่วงเวลาแห่งการรอคอยของบรรดานักถ่ายภาพ คือ ช่วงเวลาที่ตะวันใกล้จะลับขอบฟ้า หรือใกล้จะโผล่มาสวัสดียามเช้า เพราะเป็นช่วงเวลาที่มักจะได้ภาพสวยๆ ท่ามกลางบรรยากาศรอบข้างไม่ว่าจะเป็นผืนน้ำในทะเล หมอกยามเช้าบนภูเขา หรือแม้กระทั่ง พระอาทิตย์ขึ้นที่ยอดตึก
          
    หลังจากต้องต่อสู่กับความง่วงนอนยามเช้า หรือความเหนื่อยล้า ที่ตะลุยเที่ยวกันทั้งวัน ก่อนอื่น ในช่วงเวลาที่นั่งพักผ่อน รอช่วงนาทีทอง เรามาปรับโหมดการถ่ายภาพกันก่อน โหมดที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก และขึ้น สามารถใช้โหมดอะไรก็ได้ ตามความถนัดของแต่ละคน หรือจะเลือกโหมด SCN พระอาทิตย์ตกดิน แต่สิ่งสำคัญ สำหรับการถ่ายภาพแนวนี้ นั่นคือการวัดแสง เพราะปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ สีสันท้องฟ้า ไม่สดเหมือนที่ตาเห็น หรือระอาทิตย์ก็ขาวโอเวอร์จนมองไม่เห็นเส้นขอบวงกลม การแก้ปัญหา เป็นเรื่องไม่ยาก เพียงต้องรู้เวลา และวัดแสงในจุดที่เราต้องการให้คงรายละเอียด เช่นถ้าต้องการให้เห็นเส้นขอบพระอาทิตย์ ก็วัดแสงที่ขอบดวงอาทิตย์ แต่ต้องในเวลาที่แสงไม่จ้าเกินไป และหากต้องการให้สีสันของท้องฟ้ายังคงสดเท่าที่ตาเห็น ก็ให้กล้องวัดแสงที่ท้องฟ้านั่นเองค่ะ
         
    เมื่อเช็ทค่ากล้อง วัดแสง สร้างสีสันให้ได้ตามจินตนาการ หรือตามที่ตาเรามองเห็นกันแล้ว แต่จะเก็บภาพอย่างไร ให้สวยน่าประทับใจ วันนี้ ได้รวบรวมเทคนิคต่างๆ ในการถ่ายภาพลักษณะนี้มาฝากค่ะ
  


  แสงโทนอุ่นสีทอง สาดส่องมุมด้านข้าง ทำให้การถ่ายภาพดูมีมิติ

     ใส่ใจกับการถ่ายภาพ ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน 
 
   ช่วงเวลา ที่แสงทำมุมเฉียง ก่อนพระอาทิตย์จะลับขอบฟ้า สร้างภาพที่อยู่ตรงหน้าให้มีมิติ ไม่ว่าจะถ่ายตามแสง ย้อนแสง มักได้ภาพที่ดีเสมอ ดังนั้น จึงไม่ควรละเลยที่จะถ่ายภาพในช่วงเวลานี้ แต่อย่าเพลิน จนลืมเซฟแบตเตอรี่ไว้ถ่ายจุดไคลแมกซ์ ตอนพระอาทิตย์ตกด้วยหละ
 
     ภาพแบบ Silhouette ภาพที่เกิดเงาดำ ช่วยเน้นให้ท้องฟ้าเด่น




    ในช่วงเวลาที่พระอาทิตย์คล้อยต่ำ จนไม่สามารถสาดส่องพื้นดินให้สว่างได้นั้น ความแตกต่างของแสงระหว่างท้องฟ้า กับผืนโลกจะมากขึ้น จนทำให้เกิดเงาดำ เราสามารถพลิกวิกฤติ ให้เป็นโอกาสได้ ด้วยการถ่ายภาพ แบบ Silhouette หรือ ภาพที่เกิดเงาดำ โดยการปิดแฟลช วัดแสงที่ท้องฟ้า แล้วเลื่อนจัดองประกอบ เทคนิคในการถ่ายภาพแนวนี้ คือหาจุดเด่นเป็นรูปทรงที่เด่นชัด และหากมีน้ำ หรือสิ่งที่สะท้อนเงาของท้องฟ้า และดวงอาทิตย์ได้ จะทำให้ภาพ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
 
     เปิดเงาดำ ด้วยแสงแฟลช
 
เรียนรู้การถ่ายภาพที่เกิดเงาดำไปแล้ว เรามาเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา ถ้าต้องการเปิดเงาส่วนที่มืดด้านหน้า ก็แต่เติมไฟ เปิดแฟลช แต่มีข้อแม้ว่า วัตถุที่ต้องการเปิดเงาดำ ต้องอยู่ใกล้กล้องเพียงพอที่แสงแฟลชจะไปถึง เป็นการสร้างมิติให้กับภาพมากขึ้น กว่าแบบ Silhouette ค่ะ
 
 
      เปลี่ยน ไวท์บาล้านซ์ ให้สีแปลกตา และน่าสนใจ




    สำหรับใครที่เบื่อหน่าย กับภาพพระอาทิตย์ตกดิน สีเหลืองส้ม ก็สามารถสร้างสรรค์ภาพถ่ายในยุคกล้องดิจิตอลได้ ด้วยการเปลี่ยน ไวท์บาล้านซ์ (ในยุคฟิล์มต้องใช้ฟิลเตอร์สี) เมื่อเปลี่ยนไวท์บาล้านซ์ ภาพจะเปลี่ยนสีไปเรื่อยๆ สร้างความสนุกในการถ่ายภาพ และสามารถเลือกโทนสีภาพได้ตามต้องการ


 
     หากเบื่อกับการจัดองค์ประกอบแบบกว้างเวิ้งว้าง ลองซูมแล้วจัดองค์ประกอบใหม่ 
 
    เมื่อเก็บภาพในมุมกว้าง ก็อย่าลืมซูม เข้าไปใกล้ๆ ให้พระอาทิตย์ดวงใหญ่ และให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากเดิม ข้อควรระวัง คือจำไว้เสมอว่า การซูม ทำให้สปีดชัตเตอร์ลดลงไปด้วย ดังนั้นเพื่อความชัวร์ ควรใช้ร่วมกับขาตั้งกล้องค่ะ 
 
     ใส่ฉากหน้าให้กับภาพ  เพื่อให้ภาพดูไม่หลวม
 
    โดยปรกติ การถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดิน ภาพมักจะสื่อถึงความเวิ้งว้าง ยิ่งเป็นการถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง แล้วภาพยิ่งดูหลวม เรามีวิธีแก้ด้วยการหาฉากหน้าให้กับภาพ ไม่ว่าจะเป็นดอกหญ้า  โขดหิน หรือแม้แต่มือของเราเอง แค่นี้ภาพก็ดูไม่หลวมแล้วค่ะ



 
     จำไว้เสมอว่า ช่วงเวลานาทีทองที่พระอาทิตย์ ที่เป็นไข่แดงกำลังจะขึ้นหรือตกดิน มีเวลาแค่แป้ปเดียว 
 
    ช่วงพีคของการนั่งชมพระอาทิตย์ขึ้นตกดิน หรือการถ่ายภาพ คงหนีไม่พ้น ช่วงที่พระอาทิตย์อ่อนแสง จนกลายเป็นไข่แดงที่กำลังจะตกน้ำ หรือภูเขา ซึ่งช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ไม่กี่นาที ดังนั้น อย่ามัวรอช้า รีบกดชัตเตอร์ แล้วอย่าลืมละสายตาจากกล้องมาชื่นชมธรรมชาติด้วยตาเปล่าด้วยนะคะ



   ช่วงเวลาที่ฟ้าเปลี่ยนเป็นสีสดสี จะเกิดขึ้นหลังพระอาทิตย์ตกดิน หรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ที่สำคัญเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ
 
         ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น หรือหลังจากพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว อย่างเพิ่งเก็บกล้อง เพราะช่วงเวลาที่ฟ้าสวยที่สุด จะเกิดขึ้นหลังจากพระอาทิตย์ตก หรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เพราะฉะนั้นห้ามพลาดโอกาสนี้เด็ดขาด

    อย่าละเลยที่จะมองฝั่งตรงข้ามกับพระอาทิตย์ที่กำลังจะตกดิน 
 เพราะฟ้าอีกฝั่งก็สวยไม่แพ้กันค่ะ


 

    รู้กันอย่างนี้แล้ว ไปเที่ยวครั้งต่อไป หวังว่าคงได้ภาพพระอาทิตย์ขึ้น และตกดิน สวยๆ มาอวดกันบ้างนะคะ
 


ภาพประกอบ ถ่ายด้วยกล้อง 
SONY CYBER SHOT W 380
SONY CYBER SHOT WX 5
SONY CYBER SHOT TX7
SONY Nex –VG 10

ที่มา:www.klongdigital.com/sony/blog/50801

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการถ่ายภาพ : ถ่ายภาพดวงไฟตอนกลางคืนให้แสงออกมาเป็นแฉกๆ... เทคนิคการถ่ายภาพ : ถ่ายภาพดวงไฟตอนกลางคืนให้แสงออกมาเป็นแฉกๆ...

เทคนิคการถ่ายภาพ : ถ่ายภาพดวงไฟตอนกลางคืนให้แสงออกมาเป็นแฉกๆ...
...แบบไม่ง้อฟิลเตอร์...




เทคนิคนี้ง่ายมากครับ สิ่งที่ต้องเตรียมก็คือ กล้องดิจิตอล 1 ตัว (อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว) 

ขาตั้งกล้อง และ สายลั่นชัตเตอร์

สองสิ่งหลังเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากครับ ขาดไม่ได้เลยด้วยเหตุผลดังนี้ครับ

  • ที่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง เพราะการถ่ายภาพกลางคืนจะต้องใช้ Shutter Speed ที่ช้ามาก ทำให้ภาพสั่นไหวได้
  • สายลั่นชัตเตอร์นำมาใช้เวลาที่เรากดชัตเตอร์ เราจะได้ไม่ไปกระทบกระเทือนกล้องซึ่งทำให้เกิดภาพสั่นไหวได้
เทคนิคง่ายๆแต่ได้ผลที่จะนำเสนอก็คือ การใช้รูรับแสงให้เล็กที่สุด 
เล็กขนาดไหน?? ก็ให้เล็กกว่า F16 เป็นต้นไป ก็จะเริ่มเห็นเป็นแฉกแล้วครับ ยิ่งให้รูรับแสงเล็กเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเห็นแฉกชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

ลองมาเปรียบเทียบภาพถ่ายมุมเดียวกัน 2 ภาพที่ใช้รูปรับแสงต่างกันดูนะค่ะ

ภาพแรกถ่ายด้วยรูรับแสงขนาด F/10 shutter speed 0.8 วินาที












จะเห็นว่าดวงไฟในภาพดูนวลๆไม่เป็นแฉกเท่าไหร่นัก
จากนั้นผมเปลี่ยนมาใช้รูปรับแสงให้เล็กลง โดยภาพที่สองผมถ่ายโดยใช้รูปรับแสงขนาด F/20 และเนื่องจากรูรับแสงแคบลง จึงต้องลด shutter speed ลงเป็น 10 วินาที
เราก็จะได้ภาพที่มีแฉกสวยงามดังรูปที่สอง











เป็น เทคนิคการถ่ายภาพ ที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่ได้ภาพออกมาสวยแปลกตาเลยทีเดียว ลองศึกษาและนำไปใช้ดูนะค่ะ








ที่มา : http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?showtopic=25

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการถ่ายภาพ Landscape มือใหม่หัดถ่ายวิวให้ดู..."สวย"

เราลองมาดูเทคนิคและแนวคิดกันค่ะ เวลาออกไปเที่ยว จะได้มีรูปสวยๆ กันเยอะๆเรื่องของแนวคิด...1...ถูกที่ ถูกเวลา...
2...จะถ่ายอะไร ต้องการรูปแบบไหน อารมณ์ไหน?
3...ต้องการอะไร...และไม่ต้องการอะไรในรูป?

เรื่องของเทคนิค
1...ฝึกใช้องค์ประกอบให้เป็น (จุดตัดเก้าช่อง/เส้นนำสายตา/กฎสามส่วน)
2...เส้นขอบฟ้า...ถ้าไม่เอียงจะดีกว่าไหม?
3...แสงสีและเงา เมฆ ดวงตะวัน จันทรา...เพิ่มคุณค่าให้วิวทิวทัศน์

เรื่องของกล้องและอุปกรณ์
1...วิวสวยๆ กล้องอะไรก็ถ่ายสวย
2...มีขาตั้งกล้อง จะถ่ายได้แม้กระทั่งวิวกลางคืน ตอนแสงน้อยๆ
3...เลนส์แบบไหนก็ถ่ายวิวได้ ขึ้นอยู่กับการนำเสนอเรื่องราวของวิว

มาเริ่มบทเรียนพร้อมรูปประกอบกัน


ถาม...ทำยังไงถึงจะถ่ายรูปวิวให้ได้สวยๆ ??ตอบ...ถ่ายสถานที่ ที่มีวิวสวยๆ และตอนที่มันสวยๆ!?

รูปตัวอย่าง...ถ่ายจากข้างถนนธรรมดา แต่มองไปเห็นเมฆเป็นเส้น
เมฆนำสายตาพอดีๆ วิ่งไปหาภูเขา และแสงแดดก็พาดผ่านลงไปตรงต้นไม้เขียวๆ
ฟ้าเป็นสีน้ำเงินสดใส ผมเห็นดังนั้น จึงเชื่อว่า...วิวตรงนี้สวยจัง
แล้วก็บรรจงถ่ายรูป โดยแบ่งฟ้าเอาไว้เยอะๆ พื้นดินน้อยๆ เส้นขอบฟ้าไม่เอียง


เพียงแค่ครึ่งชั่วโมงถัดมา ก็หาสถานที่แห่งนี้ไม่เจอแล้ว
เพราะมันสวยเมื่อถูกเวลาเท่านั้นจริงๆ >"<

 


ข้างทางอีกรูป...



 

ถามอีกที่ : ถ้าสถานที่นั้นสวยแล้วและเวลาก็เหมาะสม ทำไมถ่ายออกมาแล้วไม่สวยล่ะ?
ถ้าเราเห็นสถานที่ ที่มันสวยๆ แล้วเราถ่ายออกมาไม่สวย เป็นเพราะเราขาดจินตนาการ
หรือไม่ก็เพราะว่าถ่ายรูปแบบไม่เข้าใจว่า...รูปวิวเป็นยังไง
รูปวิวทิวทัศน์นั้น เราจะได้ชื่นชมก็ต่อเมื่อเราถ่ายเสร็จออกมาเป็นรูปถ่าย ^^"
เราจะได้รูปสี่เหลี่ยมออกมาขนาดต่างๆ กัน


ไม่ว่ากล้องจะถูกจะแพงแค่ไหน
รูปใบนั้นๆ ก็จะมีลักษณะ 4 เหลี่ยม แบนๆ

ดังนั้นหากเราต้องการถ่ายรูปวิวที่เป็นสี่เหลี่ยมแบนๆ ให้สวยๆ
เราต้องเพิ่ม..."มิติและจินตนาการ" เข้าไปในรูปถ่าย

ร่ายคาถาให้รูปวิวสี่เหลี่ยมแบนๆ ใบนั้น...
พาจินตนาการของคนที่ดูรูปให้ลอยละล่องตามไป...



เรื่องของแนวคิด...

1. "ถูกที่ ถูกเวลา" คือการพาตัวเองให้ไปอยู่ในสถานที่สวยๆ ในเวลาที่สถานที่นั้นสวย

ไม่ว่าเราจะรู้เทคนิคและมีกล้องถ่ายรูปราคาแพงแค่ไหน
เราก็ไม่มีวันที่จะถ่ายรูปวิวสวยๆ ได้
หากเรา...
ไม่พาตัวเองให้ไปอยู่ในจุดที่ "ถูกที่ ถูกเวลา"

รูปนี้หากไม่ไปถ่ายที่ทะเล รับรองว่าไม่มีทะเล+เรือ และเกาะแน่นอน (ถูกที่)
รูปนี้หากไปถ่ายตอนเที่ยงตรง...ยังไงๆ พระอาทิตย์ก็ไม่ยอมตกแน่นอน (ถูกเวลา)




2 ."จะถ่ายอะไร ต้องการรูปแบบไหน อารมณ์ไหน"รูปวิวสวยๆ ถ่ายออกมาแล้วต้องดูรู้ว่า...ถ่ายอะไรมา
บรรยากาศในรูปเป็นอย่างไร...ดูแล้วรู้สึกอะไรไหม...





3.ต้องการ และไม่ต้องการอะไรในรูป?
เนื่องจากรูปวิวส่วนใหญ่ จะมีมุมมองที่กว้าง มองเห็นได้ไกลสุดสายตา
เราจึงต้องเลือกดีๆ ว่าอยากให้มี และไม่อยากให้มีอะไรในรูปของเรา...
หากเราต้องการที่จะให้มีทุกอย่างรวมอยู่ในภาพ รูปภาพก็จะดูรกตา ขาดความเด่น


 






ที่มา:http://www.oknation.net

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เทคนิคการถ่ายภาพ PANORAMA

     ไม่ยากเลย ^^ ถ้าเป็นวิวกว้างๆ เช่น สนามฟุตบอลก็ใช้ขาตั้งกล้องทั่วไปได้เลย แต่ถ้าเป็นวิวมุมแคบๆ เช่นสวนในรั้วบ้าน อาจต้องมีหัวพิเศษติดกับตัวกล้องก่อนที่จะวางบนขาตั้งเขาเรียกกันง่ายๆว่าพาโนเฮด


    
      


- การถ่ายภาพกว้าง


1.ก่อนอื่นก็เลือกทำเลหรือมุมที่จะถ่าย
2.วางกล้องบนขาตั้ง ผมชอบวางแนวตั้งค่ะ เพราะจะได้ความสูงค่อนข้างมาก ส่วนแนวนอนไม่ห่วง     อยู่แล้ว เพราะอย่างไรเราก็ต้องถ่ายหลายๆภาพเอามาต่อกัน
3.จัดมุมก้ม มุมเงยให้ดี ถ้าเป็นมุมระนาบ ไม่ก้มหรือเงย ภาพจะต่อกันได้สนิทกว่า
4.เล็งมุมกล้องไปยังมุมแรกที่ต้องการถ่าย วัดแสงให้ถูกใจ (อาจจะลองถ่ายมาดูก่อนก็ได้) ถ้าถูกใจแล้วให้ล๊อคค่าแสงไว้ครับ หรือใช้โหมดแมนนวลในการถ่าย เพื่อให้ภาพทุกภาพมีการตั้งค่าแบบเดียวกัน อ้อWBอย่าตั้งเป็นออโต้ค่ะ ไม่งั้นภาพแต่ละมุม แต่ละภาพ กล้องมันอาจจะจัดสีให้ไม่เท่ากัน ให้เลือกโหมดWBโหมดใดโหมดหนึ่งตามแต่ต้องการ
5.ถ่ายภาพแรก จากนั้นให้สังเกตที่ขอบภาพด้านขวาว่า มันเป็นวัตถุใด
6.หมุนกล้องไปตามเข็มนาฬิกา (อันนี้ไม่ใช่เคล็ดลับหรอกค่ะ^^) โดยสังเกตให้วัตถุที่ขอบภาพด้านขวาซึ่งเราหมายตาไว้ในภาพแรก ให้เลื่อนไปอยู่ที่ขอบของช่องมองภาพด้านซ้าย โดยให้กินเนื้อที่ประมาณ20%ของภาพแรก
7.ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้มุมภาพกว้างเท่าที่ต้องการ หรืออาจหมุนจนครบ360องศาเลยก็ยังได้ค่ะ8.นำภาพทั้งหมดมาต่อกัน ไม่ต้องกังวลใจว่าจะต่อไม่เนียน เพราะเราจะใช้โปรแกรมต่อภาพเป็นตัวจัดการ ขอให้ทำขั้นตอนที่1-6ให้ถูกต้องเท่านั้น รับรองว่าภาพต่อกันเนียนแน่ๆ ซึ่งเดี๋ยวจะมาว่ากันต่อค่ะ









-การถ่ายภาพในที่แคบๆ

การวางกล้องบนขากล้องแบบปกติ จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ parallax เกิดขึ้น ปรากฏการณ์นี้สามารถสาธิตง่ายๆโดยการยกนิ้วมือข้างหนึ่งไว้ตรงหน้าระดับสายตา หลับตาซ้าย-ขวา สลับกัน คุณจะเห็นว่า ภาพนิ้วกับฉากหลังมีองศาการทับซ้อนที่เปลี่ยนไป กล้องก็เช่นกัน การวางกล้องบนขาตั้งปกติ จุดหมุนจะไม่ได้อยู่ที่ปลายเลนส์ แต่จะอยู่บริเวณตัวกล้องแทน ดังนั้น ทันทีที่คุณหมุนกล้อง จึงเท่ากับเป็นการส่ายหน้าเลนส์ไปด้วย(ถ้ากล้องตัวแบนๆบางๆ+รูเสียบหัวขาตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางเลนส์ ก็ค่อยยังชั่วหน่อย) การถ่ายภาพสองภาพโดยที่เลนส์ไม่ได้หมุนในตำแหน่งเดิม ย่อมทำให้เกิด parallax (ในภาพที่มีบริเวณกว้าง จะเกิด parallax น้อยกว่าในบริเวณแคบๆ) เมื่อนำภาพมาต่อกัน จะต่อได้ไม่เนียนนัก แม้จะใช้โปรแกรมก็ตาม ดังนั้น ในกรณีนี้ คุณต้องหาหัว พาโนเฮดมาใช้ เพื่อเปลี่ยนให้จุดหมุนมาอยู่ที่หน้าเลนส์แทนค่ะ




คราวนี้ก็หาโปรแกรมสร้างภาพพาโนรามาดีดีมาใช้

1. อันหนึ่งที่ค่อนข้างใช้ได้ง่ายๆ และดูเหมือนจะฟรีด้วย ก็คือโปรแกรมในกลุ่มARCSOFTซึ่งแถมมากับกล้องยี่ห้อพานาโซนิค แต่จำชื่อโปรแกรมไม่ได้ แต่แนะแค่นี้คุณคงหาได้ไม่ยาก^_^
2. อีกอันหนึ่ง น่าจะดีกว่า ชื่อโปรแกรมStitcher Unlimitedของค่ายREALVIZอันนี้ไม่ฟรีแน่ค่ะแต่ทราบชื่อโปรแกรมแล้วคงไม่เกินความสามารถเป็นแน่

ส่วนชนิดของภาพพาโนรามาเดี๋ยวนี้มีหลากหลายค่ะ เป็นต้นว่า


1. Plannarภาพมุมกว้างทั่วไปที่ไม่ถึงกับรอบตัว
2. Cylindricalภาพมุมกว้างแบบรอบตัวเลยครับ360องศา อันนี้มีโปรแกรมสำหรับพรีวิวด้วย คนดูสามารถเอาเมาส์หมุนซ้าย-ขวา ได้ตามแต่ใจ
3. Sphericalอันนี้ค่อนข้างตระการตา เพราะมันสามารถหมุนซ้าย-ขวา เงย ไปดูเพดาน ท้องฟ้า หรือ ก้มมองดูพื้นได้เลย เปรียบเหมือนเราอยู่ด้านในห้องทรงกลมที่มีรูปภาพแปะอยู่รอบทิศทางเลยค่ะ(แต่การถ่ายภาพ ต้องถ่ายมาจำนวนมากกว่า เพราะต้องถ่ายมุมก้ม มุมเงย มาด้วย)4. Cubicอันนี้คล้ายข้อ3 แต่ไม่อลังการเท่า เปรียบเหมือนเราอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม หรือกล่องแบบ6ด้านนั่นแหละ







ขอบคุณที่มา : http://www.kaweeclub.com/(art)/panorama/

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการถ่ายสัตว์

การถ่ายภาพสัตว์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง
         สัตว์ที่เลี้ยงในบ้าน เช่น สุนัข แมว นก ปลา แต่ละชนิดก็มีรูปร่างลักษณะ สีสัน กิริยาท่าทาง และนิสัย ที่แตกต่างกันออกไป เป็นสัตว์ที่น่ารักทั้งสิ้น สามารถเลือกมุมถ่ายภาพให้มีความสวยงามและน่ารักได้ พยายามใช้ความรวดเร็วในการจับภาพในจังหวะที่น่าประทับใจต่าง ๆ





























 2. การถ่ายภาพในสวนสัตว์            
           ควรไปถ่ายภาพในตอนเช้า ที่อากาศไม่ร้อน สัตว์จะมีอารมณ์ดี โดยเฉพาะเวลาให้อาหารสัตว์เป็นเวลาที่เหมาะที่สุดในการถ่ายภาพ เพราะสัตว์จะแสดงกิริยาต่าง ๆ 
           ในกรณีที่ต้องการถ่ายภาพ ผ่านลูกกรงเหล็ก หรือรั้วกัน ควรเปิดช่องรับแสงของเลนส์ให้กว้าง  ให้กล้องหากจากลูกกรงประมาณครึ่งเมตร ลูกกรงหรือรั้วกั้น  จะพ้นระยะชัดเกิดความพร่ามัว ทำให้มองเห็นเฉพาะภาพสัตว์และยังช่วยหลบฉากหลังที่รกรุงรังให้หายไปได้อีกด้วยกล้องที่ใช้ถ่ายภาพสัตว์          ควรใช้กล้องแบบ 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยว โดยใช้เลนส์ซูมหรือเลนส์ถ่ายระยะไกล้ 135 มม. – 250 มม. เพื่อให้สามารถดึงภาพให้มีขนาดใหญ่ได้ ส่วนฟิล์มควรใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง 250 ISO หรือ 400 ISO 














 3. การถ่ายภาพสัตว์ป่า          
          เป็นการออกไปถ่ายภาพสัตว์ในป่าเขาตามธรรมชาติ ซึ่งในบ้านเมืองเราคงหาโอกาสได้ยาก      จะมีบ้างก็พวกเก้ง กวาง ในป่าสงวนบ้างแห่งเท่านั้น การแอบถ่ายภาพสัตว์ป่า จำเป็นต้องถ่ายจากบังไพร หรือซุ้มไม้มิดชิดเพื่อไม่ให้สัตว์มองเห็น และกลัว ควรต้องศึกษาแหล่งที่พัก แหล่งอาหาร และแหล่งน้ำของสัตว์อย่างน้อยจะทำให้มีโอกาสการถ่ายภาพได้ง่ายเข้า 
           อุปกรณ์ที่จำเป็นที่สุดในการถ่ายภาพสัตว์ป่าคือเลนส์ระยะไกล มีความยาวโฟกัสสูง ไม่ต่ำกว่า 400 มม. – 1200 มม. หรือใช้ Teleconverter 2X เพื่อช่วยให้สามารถถ่ายภาพ
ในระยะไกล ๆ ได้ กล้องควรตั้งบนข้างตั้งใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง จะได้ภาพที่มีความคมชัด แน่นอน











ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.showded.com

















วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการถ่ายภาพหน้าชัดหลังเบลอ

        ก่อนจะถ่ายรูปนั้นเราต้องรู้ก่อนว่า เราจะถ่ายรูปให้หลังเบลอ ไปเพื่ออะไร? โดยปกติส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะถ่ายภาพที่มีฉากหลังเบลอ เพื่อ “เน้นตัวแบบ” ของเราให้เด่นขึ้น และกำจัดฉากหลังรกๆ ออกไปให้ไม่เกะกะสายตา
     
         แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราไปเที่ยว แล้วอยากถ่ายคน คู่กับวิว เราคงไม่อยากได้ วิวที่มันเบลอๆ มองไม่ชัด ใช่ไหมละ? ดังนั้นก่อนจะกดชัตเตอร์ เราต้องตอบตัวเองให้ได้เสียก่อนว่า "เราอยากได้รูปภาพแบบไหนกันแน่?"
      
          ภาพบุคคลมักจะถ่ายให้มีความชัดตื้น หน้าชัดหลังเบลอเพื่อเน้นความเด่นของตัวแบบ
รูปภาพที่มีลักษณะหน้าชัดหลังเบลอ หรือ หลังชัดหน้าเบลอ นั้น ภาษาช่างภาพ เขาเรียกว่า “ชัดตื้น”( Depth of Field) คือมีส่วนที่คมชัดน้อย หรือชัดเฉพาะส่วน

           ระยะชัดลึก  หรือ Depth of Field  คือ ช่วงระยะที่ภาพยังคงมีค่าความคมชัดของภาพอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ พูดปากเปล่าอาจจะไม่เข้าใจ เอาเป็นว่าลองดูรูปประกอบละกัน

           

             ปัจจัยที่มีผลต่อระยะชัดลึก (Depth of Field)
1 รูรับแสง (Aperture)  การปรับค่ารูรับแสงคือการปรับระยะชัดลึกด้วย ถ้าเราปรับค่ารูรับแสงให้กว้างขึ้น (ค่า f น้อยลง) ค่าระยะชัดลึกก็จะน้อยลงด้วย ภาพก็จะหน้าชัดหลังเบลอหรือชัดตื้นมาก ในขณะที่ค่ารูรับแสงแคบๆ (ค่า f มาก) ค่าระยะชัดลึกก็จะมากขึ้น ภาพก็จะชัดไปทั้งภาพ
ซึ่งส่วนใหญ่ระยะชัดลึกน้อยๆ มักจะใช้กับการถ่ายภาพ Portrait เนื่องจากแยกตัวแบบออกจากฉากหลัง ทำให้ตัวแบบเด่นขึ้นได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ระยะชัดลึกมากๆ ก็มักจะใช้กับภาพถ่าย Landscape เนื่องจากภาพวิวทิวทัศน์นั้นเรามักจะต้องการความชัดลึกของทั้งภาพสูงนั่นเอง

2 ระยะห่างจากตัวเลนส์กับตัวแบบ ยิ่งเราเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้นเท่าไหร่ ระยะชัดลึกจะยิ่งแคบลง และถ้าหากเราอยู่ไกลตัวแบบมากๆ ระยะชัดลึกก็จะเพิ่มขึ้น อันนี้สังเกตุได้จากเลนส์ macro ที่ต้องเข้าไปถ่ายใกล้ตัวแบบมากๆ ระยะชัดลึกจะแคบมากๆ ถึงขนาดว่าขยับนิดเดียว subject ที่เราจะถ่ายเบลอไปเลยก็มี เพราะฉะนั้นการถ่ายภาพ macro เลยมักจะต้องใช้ค่ารูรับแสงแคบมากๆ

3 ทางยาวโฟกัส (Focal Length) ยิ่งทางยาว Focus ของเลนส์มากๆ ระยะชัดลึกแคบก็จะแคบลง ในทางกลับกัน ถ้าเลนส์ที่ทางยาว Focus น้อยๆ ระยะชัดลึกก็จะมากขึ้นขึ้น  อันนี้สังเกตุได้ง่ายๆว่า ถ้าเราใช้เลนส์ Telephoto ถ่ายภาพ ฉากหลังมักจะเบลอมาก แต่ถ้าใช้เลนส์  Wide  ภาพจะยังคงคมชัดเกือบจะทั้งภาพ แม้ว่าจะตั้งค่ารูรับแสงค่าเดียวกันก็ตาม




        นอกจากนั้นขนาดของ Sensor ก็มีผลต่อระยะชัดลึกของภาพเหมือนกัน ดังจะเห็นว่ากล้อง Compact ที่มีขนาด Sensor รับภาพเล็กมาก ถ่ายภาพมายังไงหลังก็ไม่เบลอ เหมือนกล้อง SLR เพราะฉะนั้นคนที่ถ่ายภาพด้วยกล้อง compact ถ้าหากทำตาม 3 ขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วคือ ใช้รูรับแสงกว้างๆ , Zoom มากๆ และเขยิบเข้าไปใกล้ๆตัวแบบมากๆ แล้วก็ยังไม่ได้ภาพที่น่าพอใจ ก็คงต้องแนะนำให้ลองมองหาฉากหลังที่อยู่ห่างจากตัวแบบมากๆ หรือลองมองหาฉากหลังเรียบๆ ที่มีความเปรียบต่างต่ำ มาใช้ช่วยให้ตัวแบบมีความโดดเด่นมากขึ้นแทน




           ถ้าต้องการถ่ายดอกไม้หรือแมลง ให้หน้าชัดหลังเบลอ
    
           ตอนนี้กล้องของเราก็ถูกปรับเป็นโหมดมาโครเรียบร้อยแล้ว จัดการหาวัตถุที่จะถ่ายอย่างดอกไม้ หรือผีเสื้อ เทคนิคง่ายๆ หากต้องการให้ตัวแบบชัด และหลังเบลอ คอมแพ็คก็สามารถทำได้ แต่อาจไม่เบลอเท่ากล้องที่เปลี่ยนเลนส์ได้ เพราะขนาดของเซ็นเซอร์ที่เล็กกว่า โดยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 4 อย่าง ด้วยกันค่ะ

   1. ยิ่งกล้องเราใกล้วัตถุที่เป็นจุดเด่นเท่าไร หลังก็จะยิ่งเบลอ   
   2. ระยะการซูม ยิ่งซูมเยอะหลังจะยิ่งเบลอ 
   3. ช่องรับแสง F ยิ่งกว้าง หลังยิ่งเบลอ 
   4. ระยะฉากหลัง ยิ่งห่างจากจุดโฟกัสมาก หลังจะยิ่งเบลอ

ขอบคุณที่มา: http://fws.cc/linkout.php?
                      http://www.klongdigital.com/

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์

        ในการถ่ายรูปวิวทิวทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นภูเขา, City Landscape, หรือทะเล สิ่งสำคัญที่ควรจะคำนึงถึง
ก็คือเรื่องของการจัดแสง
         เรื่องแสงนี้เราก็ต้องมาดูกันก่อนว่า สิ่งที่ผู้ถ่ายต้องการตอนนั้นคืออะไร ต้องการอารมณ์ภาพเป็นแบบไหน ซึ่งลักษณะแสงที่ปรากฏก็จะมีหลักๆ 2 แบบด้วยกันคือ
         1 การถ่ายภาพตามแสง >> ในการถ่ายภาพตามแสงนั้น ภาพที่ออกมา จะได้รายละเอียดที่ค่อนข้างครบถ้วน อย่างเช่นเราจะถ่าย วิวภูเขา หรือเกาะแก่งต่างๆ
การถ่ายภาพตามแสงนั้นจะช่วยให้เกิดความชัดเจนในรายละเอียดมากขึ้น




           ซึ่งการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ส่วนใหญ่นั้นจะใช้วิธีการถ่ายภาพตามแสง เพื่อที่จะได้รายละเอียด    สื่อไปถึงคนที่จะมาชมภาพ ว่าทิวทัศน์หรือสถานที่ต่างๆที่เราได้ไปเก็บภาพมา มีลักษณะอย่างไร           รายละเอียดเป็นอย่างไร ซึ่งสามารถเห็นได้จากภาพได้ทันที
           ส่วนในเรื่องการวัดแสงนั้นควรจะตั้งโหมดวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ และถ้าต้องการความสดของสีที่เกิดขึ้น ก็ควรจะใส่ฟิลเตอร์ CPL ไว้ด้วย ซึ่งจะมีประโยชน์มากเมื่อเราใช้ถ่ายภาพทะเล CPL จะตัดแสงสะท้อนออก ให้เหลือแต่แสงสีที่แท้จริงของท้องฟ้าและทะเล ทำให้ได้ทะเลสีมรกต
และท้องฟ้าสีฟ้าสวยงาม




2. การถ่ายภาพย้อนแสง >> การถ่ายภาพประเภทนี้จะไม่เน้นรายละเอียดของวัตถุที่เราจะเอามาเป็นแบบ คนทั่วไปจะหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพย้อนแสง เพราะมันไม่เห็นรายละเอียด เห็นแต่อะไรก็ไม่รู้มืดๆ แต่จริงๆ แล้ว ถ้าเราจัดองค์ประกอบได้ดีและเข้าใจอารมณ์ที่จะถ่ายทอดออกมาทางภาพ
ภาพที่ได้ก็จะออกมาอย่างสวยงามได้อารมณ์เป็นอย่างมาก





      จุดประสงค์ของการถ่ายภาพย้อนแสง จริงๆแล้วจะเน้นอารมณ์ของภาพมากกว่ารายละเอียด        อย่างเช่นการถ่ายภาพชีวิตชาวเล ตอนพระอาทิตย์ตกดิน หรือภาพทิวเขาหลังอาทิตย์ลับขอบฟ้า ซึ่งแม้ภาพเหล่านี้จะไม่ได้ให้รายละเอียดมากนัก แต่ว่าจะได้อารมณ์บรรยากาศของสถานที่ ณ เวลานั้นๆ ได้อย่างดีทีเดียว

 



           ทั้งการถ่ายภาพตามแสงและย้อนแสง ภาพที่ออกมาจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการจัดองค์ประกอบภาพ และการวัดแสงที่เหมาะสม เพื่อให้ภาพที่ออกมานั้น สามารถถ่ายทอดอารมณ์ของผู้ถ่ายไปยังผู้รับได้อย่างสมบูรณ์และสวยงาม