วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการถ่ายสัตว์

การถ่ายภาพสัตว์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง
         สัตว์ที่เลี้ยงในบ้าน เช่น สุนัข แมว นก ปลา แต่ละชนิดก็มีรูปร่างลักษณะ สีสัน กิริยาท่าทาง และนิสัย ที่แตกต่างกันออกไป เป็นสัตว์ที่น่ารักทั้งสิ้น สามารถเลือกมุมถ่ายภาพให้มีความสวยงามและน่ารักได้ พยายามใช้ความรวดเร็วในการจับภาพในจังหวะที่น่าประทับใจต่าง ๆ





























 2. การถ่ายภาพในสวนสัตว์            
           ควรไปถ่ายภาพในตอนเช้า ที่อากาศไม่ร้อน สัตว์จะมีอารมณ์ดี โดยเฉพาะเวลาให้อาหารสัตว์เป็นเวลาที่เหมาะที่สุดในการถ่ายภาพ เพราะสัตว์จะแสดงกิริยาต่าง ๆ 
           ในกรณีที่ต้องการถ่ายภาพ ผ่านลูกกรงเหล็ก หรือรั้วกัน ควรเปิดช่องรับแสงของเลนส์ให้กว้าง  ให้กล้องหากจากลูกกรงประมาณครึ่งเมตร ลูกกรงหรือรั้วกั้น  จะพ้นระยะชัดเกิดความพร่ามัว ทำให้มองเห็นเฉพาะภาพสัตว์และยังช่วยหลบฉากหลังที่รกรุงรังให้หายไปได้อีกด้วยกล้องที่ใช้ถ่ายภาพสัตว์          ควรใช้กล้องแบบ 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยว โดยใช้เลนส์ซูมหรือเลนส์ถ่ายระยะไกล้ 135 มม. – 250 มม. เพื่อให้สามารถดึงภาพให้มีขนาดใหญ่ได้ ส่วนฟิล์มควรใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง 250 ISO หรือ 400 ISO 














 3. การถ่ายภาพสัตว์ป่า          
          เป็นการออกไปถ่ายภาพสัตว์ในป่าเขาตามธรรมชาติ ซึ่งในบ้านเมืองเราคงหาโอกาสได้ยาก      จะมีบ้างก็พวกเก้ง กวาง ในป่าสงวนบ้างแห่งเท่านั้น การแอบถ่ายภาพสัตว์ป่า จำเป็นต้องถ่ายจากบังไพร หรือซุ้มไม้มิดชิดเพื่อไม่ให้สัตว์มองเห็น และกลัว ควรต้องศึกษาแหล่งที่พัก แหล่งอาหาร และแหล่งน้ำของสัตว์อย่างน้อยจะทำให้มีโอกาสการถ่ายภาพได้ง่ายเข้า 
           อุปกรณ์ที่จำเป็นที่สุดในการถ่ายภาพสัตว์ป่าคือเลนส์ระยะไกล มีความยาวโฟกัสสูง ไม่ต่ำกว่า 400 มม. – 1200 มม. หรือใช้ Teleconverter 2X เพื่อช่วยให้สามารถถ่ายภาพ
ในระยะไกล ๆ ได้ กล้องควรตั้งบนข้างตั้งใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง จะได้ภาพที่มีความคมชัด แน่นอน











ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.showded.com

















วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการถ่ายภาพหน้าชัดหลังเบลอ

        ก่อนจะถ่ายรูปนั้นเราต้องรู้ก่อนว่า เราจะถ่ายรูปให้หลังเบลอ ไปเพื่ออะไร? โดยปกติส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะถ่ายภาพที่มีฉากหลังเบลอ เพื่อ “เน้นตัวแบบ” ของเราให้เด่นขึ้น และกำจัดฉากหลังรกๆ ออกไปให้ไม่เกะกะสายตา
     
         แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราไปเที่ยว แล้วอยากถ่ายคน คู่กับวิว เราคงไม่อยากได้ วิวที่มันเบลอๆ มองไม่ชัด ใช่ไหมละ? ดังนั้นก่อนจะกดชัตเตอร์ เราต้องตอบตัวเองให้ได้เสียก่อนว่า "เราอยากได้รูปภาพแบบไหนกันแน่?"
      
          ภาพบุคคลมักจะถ่ายให้มีความชัดตื้น หน้าชัดหลังเบลอเพื่อเน้นความเด่นของตัวแบบ
รูปภาพที่มีลักษณะหน้าชัดหลังเบลอ หรือ หลังชัดหน้าเบลอ นั้น ภาษาช่างภาพ เขาเรียกว่า “ชัดตื้น”( Depth of Field) คือมีส่วนที่คมชัดน้อย หรือชัดเฉพาะส่วน

           ระยะชัดลึก  หรือ Depth of Field  คือ ช่วงระยะที่ภาพยังคงมีค่าความคมชัดของภาพอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ พูดปากเปล่าอาจจะไม่เข้าใจ เอาเป็นว่าลองดูรูปประกอบละกัน

           

             ปัจจัยที่มีผลต่อระยะชัดลึก (Depth of Field)
1 รูรับแสง (Aperture)  การปรับค่ารูรับแสงคือการปรับระยะชัดลึกด้วย ถ้าเราปรับค่ารูรับแสงให้กว้างขึ้น (ค่า f น้อยลง) ค่าระยะชัดลึกก็จะน้อยลงด้วย ภาพก็จะหน้าชัดหลังเบลอหรือชัดตื้นมาก ในขณะที่ค่ารูรับแสงแคบๆ (ค่า f มาก) ค่าระยะชัดลึกก็จะมากขึ้น ภาพก็จะชัดไปทั้งภาพ
ซึ่งส่วนใหญ่ระยะชัดลึกน้อยๆ มักจะใช้กับการถ่ายภาพ Portrait เนื่องจากแยกตัวแบบออกจากฉากหลัง ทำให้ตัวแบบเด่นขึ้นได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ระยะชัดลึกมากๆ ก็มักจะใช้กับภาพถ่าย Landscape เนื่องจากภาพวิวทิวทัศน์นั้นเรามักจะต้องการความชัดลึกของทั้งภาพสูงนั่นเอง

2 ระยะห่างจากตัวเลนส์กับตัวแบบ ยิ่งเราเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้นเท่าไหร่ ระยะชัดลึกจะยิ่งแคบลง และถ้าหากเราอยู่ไกลตัวแบบมากๆ ระยะชัดลึกก็จะเพิ่มขึ้น อันนี้สังเกตุได้จากเลนส์ macro ที่ต้องเข้าไปถ่ายใกล้ตัวแบบมากๆ ระยะชัดลึกจะแคบมากๆ ถึงขนาดว่าขยับนิดเดียว subject ที่เราจะถ่ายเบลอไปเลยก็มี เพราะฉะนั้นการถ่ายภาพ macro เลยมักจะต้องใช้ค่ารูรับแสงแคบมากๆ

3 ทางยาวโฟกัส (Focal Length) ยิ่งทางยาว Focus ของเลนส์มากๆ ระยะชัดลึกแคบก็จะแคบลง ในทางกลับกัน ถ้าเลนส์ที่ทางยาว Focus น้อยๆ ระยะชัดลึกก็จะมากขึ้นขึ้น  อันนี้สังเกตุได้ง่ายๆว่า ถ้าเราใช้เลนส์ Telephoto ถ่ายภาพ ฉากหลังมักจะเบลอมาก แต่ถ้าใช้เลนส์  Wide  ภาพจะยังคงคมชัดเกือบจะทั้งภาพ แม้ว่าจะตั้งค่ารูรับแสงค่าเดียวกันก็ตาม




        นอกจากนั้นขนาดของ Sensor ก็มีผลต่อระยะชัดลึกของภาพเหมือนกัน ดังจะเห็นว่ากล้อง Compact ที่มีขนาด Sensor รับภาพเล็กมาก ถ่ายภาพมายังไงหลังก็ไม่เบลอ เหมือนกล้อง SLR เพราะฉะนั้นคนที่ถ่ายภาพด้วยกล้อง compact ถ้าหากทำตาม 3 ขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วคือ ใช้รูรับแสงกว้างๆ , Zoom มากๆ และเขยิบเข้าไปใกล้ๆตัวแบบมากๆ แล้วก็ยังไม่ได้ภาพที่น่าพอใจ ก็คงต้องแนะนำให้ลองมองหาฉากหลังที่อยู่ห่างจากตัวแบบมากๆ หรือลองมองหาฉากหลังเรียบๆ ที่มีความเปรียบต่างต่ำ มาใช้ช่วยให้ตัวแบบมีความโดดเด่นมากขึ้นแทน




           ถ้าต้องการถ่ายดอกไม้หรือแมลง ให้หน้าชัดหลังเบลอ
    
           ตอนนี้กล้องของเราก็ถูกปรับเป็นโหมดมาโครเรียบร้อยแล้ว จัดการหาวัตถุที่จะถ่ายอย่างดอกไม้ หรือผีเสื้อ เทคนิคง่ายๆ หากต้องการให้ตัวแบบชัด และหลังเบลอ คอมแพ็คก็สามารถทำได้ แต่อาจไม่เบลอเท่ากล้องที่เปลี่ยนเลนส์ได้ เพราะขนาดของเซ็นเซอร์ที่เล็กกว่า โดยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 4 อย่าง ด้วยกันค่ะ

   1. ยิ่งกล้องเราใกล้วัตถุที่เป็นจุดเด่นเท่าไร หลังก็จะยิ่งเบลอ   
   2. ระยะการซูม ยิ่งซูมเยอะหลังจะยิ่งเบลอ 
   3. ช่องรับแสง F ยิ่งกว้าง หลังยิ่งเบลอ 
   4. ระยะฉากหลัง ยิ่งห่างจากจุดโฟกัสมาก หลังจะยิ่งเบลอ

ขอบคุณที่มา: http://fws.cc/linkout.php?
                      http://www.klongdigital.com/